สถิติ
เปิดเมื่อ9/06/2017
อัพเดท18/09/2017
ผู้เข้าชม1553
แสดงหน้า1939
สินค้า
ปฎิทิน
April 2024
Sun Mon Tue Wed Thu Fri Sat
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
    




เขาขนาบน้ำ

อ่าน 57 | ตอบ 0
 
 
 
 

 

เขาขนาบน้ำ  เป็นเขาสองลูกสูงประมาณ 100 เมตร ขนาบแม่น้ำกระบี่ด้านหน้าตัวเมือง ถือเป็นสัญลักษณ์ของเมืองกระบี่ สามารถไปเที่ยวชมได้โดยเช่าเรือหางยาวที่ท่าเรือเจ้าฟ้า ใช้เวลาเดินทางเพียง 15 นาที นอกจากนั่งเรือชมเขาและป่าชายเลนที่มีความสมบูรณ์แล้วยังสามารถเดินขึ้นไปเที่ยวถ้ำได้ ภายในมีหินงอกหินย้อย และเป็นสถานที่ที่เคยพบโครงกระดูกมนุษย์จำนวนมากอีกด้วยแต่ปัจจุบันไม่หลงเหลืออยู่แล้ว  สันนิษฐานว่าอาจเป็นโครงกระดูกของกลุ่มคนที่อพยพมาตั้งหลักแหล่งแต่ล้มตายลงเนื่องจากเกิดอุทกภัยอย่างฉับพลัน และสำหรับนักนิยมพายเรือแคนู บริเวณนี้เหมาะที่จะพายเรือแคนูเพราะมี

ธรรมชาติที่เขียวชอุ่มด้วยป่าชายเลนและน้ำนิ่ง สนใจสามารถติดต่อบริษัทเรือแคนู ในจังหวัดกระบี่ได้                   นอกจากนั้นไม่ห่างจากเขาขนาบน้ำจะมีชุมชนชาวเกาะกลาง ที่บนเกาะจะมีหอพิพิธภัณฑ์และศูนย์หัตถกรรมพื้นบ้านแสดงเครื่องใช้ในสมัยโบราณ ของที่ระลึกฝีมือชาวบ้าน อาทิ เรือโทงเทง  และจะได้สัมผัสวิถีชีวิตของชาวบ้าน การทอผ้าฝ้าย การเลี้ยงปลาในกระชัง  นักท่องเที่ยวสามารถเช่าเรือจากท่าเรือเทศบาล บริเวณเขาขนาบน้ำ ใช้เวลาประมาณ 20 นาที ค่าเช่าเรือลำละ 300 บาท

ประวัติความเป็นมา

เขาขนาบน้ำนับเป็นภูเขาที่เป็นสัญลักษณ์ของจังหวัดกระบี่ เพราะเมื่อเดินทางเข้าถึงตัวจังหวัด ภาพที่งดงามประทับใจ คือภาพเขาขนาบน้ำเคียงคู่ หันหน้าเข้าหากันริมแม่น้ำกระบี่ มีหลักฐานยืนยันว่า เขาขนาบน้ำเคยเป็นที่พักอาศัยของผู้คนมาหลายยุคสมัยหลายชั่วอายุคน ตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์มาจนถึงยุคประวัติศาสตร์สมัยสงครามโลกครั้งที่ 1 ที่ 2

ลักษณะทั่วไป

บริเวณหลุมขุดทดลองเป็นเพิงผาขนาด 23 x 7 เมตร ตั้งอยู่ทางตอนล่างของเขาขนาบน้ำติดกับแม่น้ำกระบี่ พื้นผิวของแหล่งที่ขุดทดลอง อยู่เหนือระดับน้ำขณะน้ำขึ้นประมาณ 1.50 เมตร และได้ปรากฏหลักฐานชัดเจนว่าเศษหินที่หลุดออกมาเป็นสะเก็ดตอนหน้าของบริเวณ ที่ขุดทดลองซึ่งมีอยู่ตลอดแนวที่ระดับน้ำท่วมถึงนั้น ยังคงมีการกัดเซาะอยู่เมื่อระดับน้ำสูงขึ้น ระยะสูงจากส่วนล่างของผนังเพิงผา 5 เมตร มีรอยตัดอันเนื่องมาจากการซัดของคลื่นซึ่งแสดงให้เห็นว่าในช่วงหนึ่งในอดีต ระดับน้ำทะเลสูงกว่าปัจจุบันประมาณ 5 เมตร ซึ่งดร. ไพบูลย์ ประโมจนีย์ นักธรณีวิทยาและผู้เชี่ยวชาญทางธรณีวิทยาเขตคาบสมุทรไทย ได้เปรียบเทียบรอยเซาะจากทะเลในถ้ำหลายแห่งบริเวณนั้น ได้ให้ข้อคิดว่า รอยตัดนั้นดูค่อนข้างใหม่ น่าจะมี

อายุตรงกับสมัยไพลสโตซีน ตอนกลาง ในช่วงที่ระดับน้ำทะเลครั้งสุดท้ายขึ้นสูงสุด คือ อายุระหว่าง 6,000 - 5,000 ปี

ในปี พ.ศ. 2522 ศาสตราจารย์ ดร. ดักลาส แอนเดอร์สัน จากมหาวิทยาลัยบราวด์ประเทศสหรัฐอเมริกา ร่วมกับ ดร. พรชัย สุจิตต์ และดร. วรรณี วิบูลย์สวัสดิ์ แอนเดอร์สัน (นักมานุษยวิทยา) ได้ทำการขุดหลุมทดลอง เพื่อสำรวจทางโบราณคดี พบหลักฐานซึ่งบ่งชี้ว่าเป็นแหล่งที่เคยมีมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์ อาศัยอยู่ก่อน

ต่อมาในปี พ.ศ. 2542 ภายใต้โครงการศึกษา แหล่งโบราณคดีช่วงปลายยุคไพลสโตชีน - โฮโลชีน โดยมี ดร. พิสุทธิ วิจารสรณ์ ผู้เชี่ยวชาญสำรวจจำแนกดิน กรมพัฒนาที่ดินเป็นหัวหน้าโครงการร่วมกับรศ.ดร.ไพบูลย์ ประโมจนีย์ นักธรณีวิทยาผู้อำนวยการมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ศ.ดร.ดักลาส แอนเดอร์สัน และรศ.ดร.วรรณี วิบูลย์สวัสดิ์ แอนเดอร์สัน นักมานุษยวิทยา ได้รับเงินทุนจากรัฐบาลไทย ให้ทำการขุดค้นที่ถ้ำเขาขนาบน้ำ บริเวณทางซ้ายมือของหลุมทดลองที่เคยขุด เมื่อปี พ.ศ. 2522 เพื่อศึกษาการปรับตัวของมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์ที่อาศัยอยู่ริมทะเลเมื่อ ประมาณ 6,000 -4,000 ปี ซึ่งการขุดค้นจะอยู่ในความควบคุมดูแลของกรมศิลปากรและศูนย์วัฒนธรรมจังหวัด กระบี่




ขอขอบคุณhttps://www.youtube.com/watch?v=EItcFh0aSLE









 
ความคิดเห็นของผู้เข้าชม
ชื่อผู้แสดงความคิดเห็น :
สถานะ : รหัสผ่าน :
ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง :
รหัสความปลอดภัย :